เปิดผัง WORKFLOW บริษัทรับทำเว็บไซต์ มีขั้นตอนทำอย่างไร
หลายคนอาจจะเกิดความสงสัย ว่าบริษัทรับทำเว็บไซต์ทำงานกันอย่างไร และทำไมบริการรับทำเว็บไซต์ถึงใช้เวลานาน บทความนี้ 1001 Click จะนำ Workflow การทำงาน ที่เรียกได้ว่าเป็น Default ที่สุดในของบริษัทรับทำเว็บไซต์ทั้งหลายมาแชร์กัน ทั้งนี้วิธีการของแต่ละที่อาจจะแตกต่าง หรือสลับสับเปลี่ยนไม่ตรงตามนี้เป๊ะ ๆ แต่โดยพื้นฐานแล้ว ก็มักจะไม่หนีกันมาก เพราะฉะนั้นอย่ารอช้า มาเรียนรู้ 5 Steps การสร้างเว็บไซต์ Workflow แบบไหนช่วยให้ได้งานที่ดีที่สุด
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
5 STEPS : เปิดผัง WORKFLOW การทำงานของบริษัทรับทำเว็บไซต์
1. ตีโจทย์ความต้องการ (GATHERING REQUIREMENT & BRIEFING)
ในกรณีที่คุณคือเจ้าของธุรกิจ หรือผู้จ้างทำเว็บไซต์ ในส่วนนี้คือการ briefing การนำความต้องการ และเป้าประสงค์ของการสร้างเว็บไซต์ของคุณ ไปกางให้บริษัทรับทำเว็บไซต์เข้าใจได้มากที่สุด แต่หากคุณคือบริษัทรับทำเว็บไซต์ ในส่วนนี้คือการรับบรีฟ ตีโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้แตกแบบละเอียด วิเคราะห์องค์รวมตั้งแต่ประเภทธุรกิจ เป้าหมายของการใช้งาน ดีไซน์ในหัวคร่าว ๆ พร้อมถึงขีดเส้นความสามารถของเว็บไซต์ว่าจะทำอะไรได้แค่ไหน (โดยส่วนใหญ่แล้วจะตามงบประมาณ) รวมไปถึงการคำนวณเวลาของ Workflow ทั้งหมดคร่าว ๆ เพื่อให้งานมี Deadline
2. ออกแบบการใช้งานเว็บไซต์ (SITEMAP & WIREFRAME DESIGN)
Sitemap คือส่วนที่สำคัญมาก เพราะเป็นตัวกำหนด Customer Journey หรือการเดินทาง การใช้งานต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของยูสเซอร์ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความพึงพอใจที่จะเกิดขึ้นระหว่างการใช้งาน และส่งผลต่อ Traffic ในอนาคต
การออกแบบ Sitemap คือจุดที่ผู้จ้าง และบริษัทรับทำเว็บไซต์จะต้องเห็นภาพร่วมกัน ว่าแต่ละหน้า แต่ละจุดบนเว็บไซต์นั้นจะลิงก์ผ่านกันอย่างไร มีเส้นทางการลิงก์ในแต่ละหน้าเป็นระเบียบ หรือตรงตามความต้องการหรือไม่ โดยบริษัทรับทำเว็บไซต์จะให้ดูผ่านภาพเว็บไซต์จำลองคร่าว ๆ (Website Mock-Up) จากเครื่องมือที่แต่ละบริษัทใช้นั่นเอง
3. ออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ (DESIGN)
หลังจากที่มีการส่ง Sitemap และ Mock-Up ระบบการทำงาน และการลิงก์หน้าต่าง ๆ แล้ว ก็เข้าสู่กระบวนการดีไซน์ หรือก็คือการออกแบบเลเอาท์ และหน้าตาคร่าว ๆ ของเว็บไซต์
โดยจุดนี้ ก็จะยังคงอยู่กับการนำเสนอ Mock-Up เลเอาท์ของเว็บไซต์แต่ละตามที่จัดทำขึ้นมาตาม Sitemap อาจจะขึ้นมาเป็นบล็อกสี่เหลี่ยมดูง่าย ๆ เพื่อให้เห็นภาพคร่าว ๆ ว่าในหน้าเว็บเพจนี้ จะมีองค์ประกอบใด ภาพ วิดีโอ และเนื้อหาต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งเหล่านี้จะมีเลเอาท์เป็นแบบใด ทั้งรูปแบบ Desktop และ Mobile เมื่อ Mock-Up ผ่าน ก็จะเริ่มจัดทำกราฟิกที่เป็นชิ้น พร้อมเนื้อหาที่จะใช้ภายในเว็บไซต์ไว้สำหรับขั้นตอนต่อไป
4. เริ่มสร้างเว็บไซต์ (BUILD A WEBSITE)
เมื่อมีครบทั้ง Sitemap เพื่อให้เห็น Wireframe และรู้เลเอาท์ทุกเว็บเพจภายในเว็บไซต์ พร้อมกับมีกราฟิก และเนื้อหาต่าง ๆ อยู่ในมือแล้ว ขั้นตอนนี้คือการเริ่มสร้างเว็บไซต์
หากเป็นเว็บไซต์เทมเพลต ก็คือการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาวางลงตามเทมเพลตที่ได้เลือกไว้ตั้งแต่ใน Mock-Up หรือหากเป็นเว็บไซต์ Custom Made ก็จะเป็นขั้นตอนการเขียนโค้ด (Coding) เพื่อสร้างระบบต่าง ๆ ให้แสดงผลออกมาเหมือนกัน 3 วิธีการข้างต้นที่วางแผนไว้
5. ตรวจสอบ แก้ไข และใช้งาน (CHECKING, FIXING A AND LAUNCH)
หลังจากขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์เสร็จสิ้น ขั้นตอนก่อนนำไปใช้งานจริงนั้นก็คือการตรวจสอบ เพื่อดูว่าเว็บไซต์ที่ได้มานั้นตรงบรีฟ และตรงกับ Mock-Up จริง ๆ หรือไม่
เป็นขั้นตอนในการตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อมองหาจุดที่อาจจะผิดพลาด ไม่ตรงตามที่ตั้งใจไว้ หรือไม่ตรงตาม Mock-Up รวมไปถึงมองหาบัคต่าง ๆ หน้าไหนเปิดไม่ได้ หรือปุ่มไหนกดไม่ไป กรอกฟอร์มแล้วเด้งเข้าอีเมลหรือยัง ไปจนถึงองค์ประกอบต่าง ๆ โดยละเอียด หากทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปเว็บไซต์ลงเซิร์ฟ จัดการเรื่อง Domain และ HTTPS ให้เรียบร้อยเป็นอันเสร็จสิ้น
สรุป Workflow การสร้างเว็บไซต์ที่บริษัทรับทำเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะใช้กันนั้น ก็จะเป็นรูปแบบดังนี้ แต่เราอาจจะไม่ได้ใส่รายละเอียดของการวางบิลไว้ เพราะฉะนั้นหากใครสนใจนำไปใช้ หรือกำลังศึกษาระบบการทำงานเพื่อเข้าสู่วงการรับทำเว็บไซต์ในอนาคต 1001 Click หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นภาพการทำงาน และต่อยอดได้ในอนาคตการทำงานของคุณ หรือหากคุณคือผู้ว่าจ้าง หรือเจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาบริษัทรับทำเว็บไซต์มาทำงานให้อยู่ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณจะมองเห็นระบบการทำงาน และนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการบรีฟงานได้เช่นกัน
1001 Click บริษัทรับทำเว็บไซต์ประสบการณ์มากกว่า 17 ปี บริการของเราเป็น One-Stop Service ครอบคลุมตั้งแต่การรับทำเว็บไซต์ รับดูแล รับแก้ไข รับทำการตลาด และรับทำโมบายแอปพลิเคชั่น หากคุณกำลังมองหาบริษัทรับเว็บไซต์ไว้ใช้บริการ อย่าลืมนึกถึงเรา
- สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาได้ที่ 081 116 1001
- Line Id : 1001click
- Email : info@1001click.com