WEBSITE ACCESSIBILITY การออกแบบเว็บไซต์ ให้ใช้งานได้อย่างเท่าเทียม
ในยุคที่ความเท่าเทียมในหลากหลายมิติถูกยกมาเป็นหัวข้อหลักในการไดรฟ์สังคมในปัจจุบัน สนับสนุนการใช้งานของเทคโนโลยี เพื่อให้คนทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างเท่าเที่ยมกัน เว็บไซต์เอง ก็มี Website Accessibility การออกแบบเว็บไซต์ และพัฒนาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างปราศจากอุปสรรค ด้วยเช่นกัน เพื่อให้เข้าใจคอนเซ็ปต์ของ Website Accessibility กันมากขึ้น อ่านกันต่อได้ในเนื้อหาต่อไปนี้
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
พื้นฐาน และการให้ความสำคัญใน WEBSITE ACCESSIBILITY คืออะไร
Website Accessibility คือการเปิดโอกาสในการเข้าถึงเว็บไซต์ให้กับคนทุกกลุ้ม ทุกประเภท โดยที่ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เป็นกลุ่มบุคคลทุพพลภาพ อาทิ ผู้พิการทางสายตา ผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางการสื่อสารเป็นต้น การออกแบบเว็บไซต์ให้เป็น Website Accessibility จะช่วยขยายฐานกลุ่มเป้าหมาย และเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างเท่าเทียมนั่นเอง
โดยสิ่งอำนวยความสะดวก ให้กลุ่มคนทุพพลภาพเหล่านี้ได้เข้าถึงเว็บไซต์อย่างเท่าเทียมกันนั้น ในปัจจุบันมีการสร้างโปรแกรมช่วยเหลือเข้ามาใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมอ่านหน้าจอ เน้นอ่านรายละเอียดบนหน้าจอให้ผู้พิการทางสายตาฟัง หรือซับไตเติลทดแทนข้อความเสียงสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน โดยเว็บไซต์ที่ดีนั้น ควรมีระบบที่รองรับโปรแกรมช่วยเหลือเหล่านี้ หรือหากจะให้ดี อาจจะออกแบบเว็บไซต์ (Web Design) ให้รองรับคนกลุ่มนี้ ให้มากที่สุดด้วยโมเดลของตัวเว็บไซต์เอง
โดยการออกแบบเว็บไซต์ภายใต้คอนเซ็ปต์ Website Accessibility ในปัจจุบันนั้น เป็นหนึ่งในความท้าทายของวงการออกแบบเว็บไซต์ ที่เว็บไซต์ใหญ่หลาย ๆ เจ้าเริ่มให้ความสนใจ และพัฒนากันมากขึ้นในปัจจุบัน
จะพัฒนาให้เว็บไซต์ภายใต้คอนเซ็ปต์ WEBSITE ACCESSIBILITY อย่างไร
สิ่งเหล่านี้คือความท้าทายของผู้พัฒนาเว็บ โดยเฉพาะทีม UX ว่าจะสามารถปรับปรุง และพัฒนาการเข้าถึงเว็บไซต์ในจุดต่าง ๆ ได้ส่งเสริม Website Accessibility ได้แค่ไหน โดยสิ่งที่ผู้ออกแบบเว็บไซต์จะต้องคำนึงระหว่างการออกแบบเว็บไซต์ (Web Design) นั้น คือปัจจัยต่อไปนี้
- ใช้งานได้อย่างเท่าเทียม (Equitable Use) แน่นอนว่าสิ่งนี้ คือหัวใจหลักของคอนเซ็ปต์ Website Accessibility เพราะฉะนั้นการคำนึงถึงการเข้าถึงฟังก์ชั่นต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมนั้น คือปัจจัยสำคัญที่ผู้ออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์จะต้องคำนึงถึงตลอดเวลา
- ใช้งานได้หลากหลายวิธี (Flexibility in Use) เนื่องจากกลุ่มคนทุพพลภาพนั้นมีหลากหลายประเภทอย่างที่ได้กล่าวไป เพราะฉะนั้นการออกแบบระบบเพื่อรองรับเฉพาะผู้พิการทางสายตา หรือผู้พิการทางการได้ยินเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นอาจจะยังไม่ใช่ทางออกที่ดีเสมอไป เพราะฉะนั้นควรพยายามที่จะพัฒนาระบบให้ครอบคลุมคนทุกประเภทอย้างมากที่สุด
- ใช้งานง่าย (Easy to use) แน่นอนว่าออกแบบระบบ หรือมีฟังก์ชันที่รองรับคนทุกประเภทแล้ว ก็ต้องใช้งานง่ายอีกด้วย รวมไปถึงโปรแกรมช่วยเหลือต่าง ๆ นั้น มักจะไม่ใช้รองรับ หรือใช้งานได้กับเว็บไซต์ที่มีระบบซับซ้อนจนเกินไป
- เข้าถึงเนื้อหาหลักได้อย่างรวดเร็ว (Quick Access) เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่ผู้ใช้งานอาจจะทำให้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การออกแบบเว็บไซต์ให้เข้าถึงเนื้อหาหลัก อย่างหน้าต่างซื้อขาย หน้าต่างลงทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยให้โฟลว์การทำงานเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว ช่วยลดโอกาสในการเกิดปัญหา
4 เทคนิคใส่ลูกเล่นให้กับเว็บไซต์ แบบใส่ใจผู้ใช้งาน
- หากเว็บไซต์มีการใช้ VDO ในการแสดงเนื้อหา ควรใส่เป็น Visual Text หรือ Sub Title เพื่อรองรับกลุ่มที่มีปัญหาทางการได้ยิน
- สีภายในเว็บไซต์ หรือสีตัวหนังสือที่เลือกใช้ ควรหลีกเลี่ยงคู่สีที่ทำให้ผู้ที่มีปัญหาตาบอดสีอ่านยาก เช่น แดง-เขียว, เขียว-น้ำตาล, ชมพู-ฟ้า เป็นต้น
- ควรใส่ Alt Text อย่างใส่ใจ และละเอียดให้กับภาพภายในเว็บไซต์ เพราะบางโปรแกรมช่วยอ่านนั้น มักจะมีความสามารถในการอธิบายภาพคร่าว ๆ ได้ด้วย ซึ่งการอธิบายนั้นจะเกิดจากอ่าน Alt Text ที่ได้ใส่ไว้นั่นเอง
- ควรใช้ Title Tag ภายในเว็บไซต์ เพราะเว็บไซต์ที่ไม่มี Title ที่เป็นข้อความสั้น ๆ เพื่อนำเสนอว่าเว็บไซต์นี้คือเว็บไซต์อะไร หรือเกี่ยวกับอะไร จะทำให้ผู้ใช้งานที่มีปัญหาทุพพลภาพด้านสายตานั้นไม่มั่นใจว่าเข้ามาถูกเว็บไซต์หรือไม่ เพราะโปรแกรมอ่านอาจจะจับเนื้อหาสำคัญไม่พบ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไซต์ของเราเป็น WEBSITE ACCESSIBILITY แล้วหรือยัง
สำหรับการตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณนั้น ออกแบบมาได้เป็นตรงกับคอนเซ็ปต์ Website Accessibility แล้วหรือยัง วิธีการที่ดี และมีประสิทธิภาพที่สุดอาจจะเป็นการรับฟีดแบ็กจากผู้ใช้งานจริง มี Pre Test ก่อนเปิดใช้เว็บไซต์จริงว่าเว็บไซต์รองรับการใช้งานสำหรับคนทุกประเภทแล้วหรือยัง หรืออาจจะใช้วิธีการตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเว็บไซต์
ทั้งนี้ก็มีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบ Website Accessibility ให้ใช้งานด้วยเช่นกัน แต่ก็อาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพมากเท่าสองวิธีด้านบน โดยสามารถนำลิงก์เว็บไซต์มาใช้ตรวจสอบได้ผ่าน WebAIM และ Validator เป็นต้น
แม้ว่าในปัจจุบัน การพัฒนาเว็บไซต์ภายใต้คอนเซ็ปต์ Website Accessibility จะยังไม่สามารถทำให้ครอบคลุมได้ครบถ้วนหนึ่งร้อยเปอร์เซ็น เนื่องด้วยข้อจำกัดทางวิทยาการในการพัฒนาระบบ แต่การออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับคอนเซ็ปต์ และผู้คนที่หลากหลายได้มากที่สุดนั้นก็ยังคงเป็นสิ่งที่ดี และควรค่าแก่การพัฒนาต่อไป
- สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาได้ที่ 081 116 1001
- Line Id : 1001click
- Email : info@1001click.com