การทำเว็บไซต์โดยเน้นหลัก SECURITY ป้องกันการโจมตีบนเว็บไซต์
ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ในการช่วยเชื่อมต่อกับผู้คนมากมายบนโลกออนไลน์ได้พร้อมกัน รวมถึงสามารถเข้าถึงข้อมูล และดำเนินการธุรกรรมต่างๆ บนออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย และเมื่อเว็บไซต์นั้นสำคัญ จึงทำให้ธุรกิจต่างๆมีการทำเว็บไซต์กันเพิ่มขึ้น จำนวนของเว็บไซต์ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้เกิดโอกาสในการโจมตีเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขโมยข้อมูลที่เป็นความลับ หรือการทำความเสียหาย และทำลายชื่อเสียงของเว็บไซต์ได้อีกด้วย ดังนั้น หากธุรกิจของคุณต้องการทำเว็บไซต์ จะต้องพิจารณาคำนึงถึงการป้องกันไม่ให้เกิดการโจมตีเว็บไซต์เป็นหลักด้วย แล้วการทำเว็บไซต์แบบ ไหนที่จะปลอดภัยจากการโจมตีเหล่านั้น วันนี้เราไปดูการทำเว็บไซต์โดยเน้นหลัก Security ป้องกันการโจมตีบนเว็บไซต์ ในบทความนี้กัน
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
มาดูกันก่อนว่า SECURITY บนเว็บไซต์ คืออะไร
Security หรือเรียกว่า ความปลอดภัยบนเว็บไซต์ หมายถึง การป้องกัน และควบคุม ในเรื่องของความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นบนเว็บไซต์ เช่น การโจมตีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (malware) การแฮกเว็บไซต์ (hacking) การโจมตีด้วยสคริปต์ (scripting attacks) การเจาะระบบ (exploit attacks) และการโจมตีแบบฟิชชิ่ง (phishing attacks) ซึ่งจะทำให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลที่เป็นความลับ รวมถึงข้อมูลส่วนตัวต่างๆ และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องหรือเป็นเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ ดังนั้น การรักษาความปลอดภัยบนเว็บไซต์ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำเว็บไซต์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั่นเอง
10 วิธีการใช้ SECURITY ป้องกันการโจมตีบนเว็บไซต์
1. อัพเดตซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ
สำหรับวิธีการแรกนี้ ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการโจมตีบนเว็บไซต์เลยทีเดียวโดยหลังจากการทำเว็บไซต์นั้น ให้ทำการอัพเดท CMS, ปลั๊กอิน รวมถึงซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ใช้งานอยู่บนเว็บไซต์เป็นประจำ และต้องคอยอัพเดตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าเว็บไซต์ของธุรกิจคุณ ได้อัพเดตฟีเจอร์ต่างๆครบถวน ซึ่งหนึ่งในฟีเจอร์นั้น อาจจะมีฟีเจอร์ที่ช่วยป้องกัน รักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงปิดช่องโหว ที่อาจทำให้เกิดการโจมตีเว็บไซต์
2. เลือกใช้รหัสผ่านที่รัดกุม
เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ง่ายและมีประสิทธิภาพมากเช่นเดียวกัน สำหรับการป้องกันการโจมตีบนเว็บไซต์ เพียงแค่ตั้งรหัสผ่านให้รัดกุม เลือกการผสมผสานของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ตัวเลข และอักขระพิเศษต่างๆ เพื่อใช้สร้างรหัสผ่านที่มีความรัดกุม อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดทั่วไป วลี หรือข้อมูลส่วนตัว ที่สามารถคาดเดาหรือเข้าถึงง่ายมาตั้งเป็นรหัสผ่าน เพราะจะทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถคาดเดาและทำการโจมตีได้ง่ายนั่นเอง
3. การเปิดใช้ HTTPS บนเว็บไซต์
HTTPS หรือ Hypertext Transfer Protocol Secure เป็นโปรโตคอลการเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์กับเบราว์เซอร์ของผู้ใช้ โดยจะใช้การเข้ารหัสข้อมูล เพื่อป้องกันการถูกแก้ไขข้อมูลขณะที่ส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต และป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานได้ ซึ่งการเปิดใช้ HTTPS ในการทำเว็บไซต์นั้น จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน โดยเฉพาะหากต้องการส่งข้อมูลสำคัญหรือข้อมูลที่เป็นความลับผ่านเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนตัว หรือรหัสผ่าน เป็นต้น นอกจากนี้ในการเปิดใช้ HTTPS บนเว็บไซต์ จะทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะมีความปลอดภัย และไม่ถูกส่งออกไปแน่นอน
4. ป้องกันการป้อนข้อมูลของผู้ใช้
การป้อนข้อมูลของผู้ใช้ เช่น ฟอร์มการเข้าสู่ระบบ ฟอร์มติดต่อ หรือกล่องค้นหา ถือเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการโจมตีบนเว็บไซต์ โดยการตรวจสอบข้อมูลและใช้เทคนิคการล้างข้อมูลที่เหมาะสมนั้น จะสามารถป้องกันการถูกโจมตีได้ ทั้งจากการฝังโค้ดหรือสคริปต์ที่เป็นอันตรายลงไปในเว็บไซต์ของธุรกิจคุณ ซึ่งการเลือกใช้ CAPTCHA หรือ reCAPTCHA ถือเป็นอีกหนึ่งโซลูชันในการใช้โปรแกรมบอทช่วยป้องกันการโจมตีแบบอัตโนมัตินั่นเอง
5. ใช้ WEB APPLICATION FIREWALLS
Web Application Firewalls (WAF) เป็นอีกหนึ่งโซลูชันเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยที่สามารถช่วยกรองการเข้าถึงเว็บไซต์ และยังสามารถบล็อกคำขอที่ดูจะไม่ปลอดภัยออกก่อนที่จะเข้าถึงเว็บไซได้ โดย Web Application Firewalls ที่สามารถตรวจจับและบล็อกการโจมตีบนเว็บไซต์ที่มีการใช้งานบ่อย ได้แก่ SQL injection, Cross-Site Scripting (XSS) และ Cross-Site Request Forgery (CSRF) เป็นต้น
6. สำรองข้อมูลเว็บไซต์เป็นประจำ
การสำรองข้อมูลเว็บไซต์เป็นประจำนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการทำเว็บไซต์ เพื่อป้องกันการละเมิดความปลอดภัย หรือการใช้งานเว็บไซต์ที่เกิดความล้มเหลว โดยการสำรองข้อมูลบนเว็บไซต์ และฐานข้อมูลของธุรกิจเป็นประจำไปยังพื้นที่เก็บข้อมูลที่ปลอดภัยภายนอกเว็บไซต์นั้น เมื่อเว็บไซต์เกิดมีปัญหาข้อมูลหาย หรือโดนโจมตีจนใช้งานไม่ได้ ก็จะสามารถเรียกคืนเว็บไซต์กลับมาได้อย่างรวดเร็ว
7. การตรวจสอบแบบ TWO-FACTOR AUTHENTICATION (2FA)
เป็นการทำเว็บไซต์ที่มีการเลือกใช้ขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยและป้องกันการถูกโจมตีแบบ 2FA โดยผู้ใช้งานจะต้องทำการยืนยันตัวตนสองรูปแบบอย่างถูกต้อง ก่อนที่จะเข้าถึงบัญชีบนเว็บไซต์ของตนเอง ซึ่งวิธีนี้จะสามารถป้องกันการเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ได้ หากไม่ได้รับอนุญาต และถึงแม้ว่าผู้โจมตีจะได้รับรหัสผ่านของผู้ใช้ไป ก็จะเข้าใช้งานไม่ได้นั่นเอง
8. ตรวจสอบการเข้าถึงของเว็บไซต์
สำหรับการตรวจสอบการเข้าถึงของเว็บไซต์นั้น จะใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Google Analytic มาเป็นตัวช่วยในการตรวจสอบการเข้าถึงเว็บไซต์ และตรวจหาความผิดปกติบนเว็บไซต์ ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณในการถูกโจมตีเว็บไซต์ได้
9. การฝึกอบรมพนักงาน
เพราะพนักงานอาจเป็นจุดอ่อนเกี่ยวกับความปลอดภัยบนเว็บไซต์ได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันความปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ของธุรกิจคุณ จึงควรฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับวิธีการป้องกันความปลอดภัยของเว็บไซต์ เช่น ไม่แนะนำให้ใช้รหัสผ่านร่วมกัน หลีกเลี่ยงการคลิกลิงค์ที่ไม่น่าเชื่อถือ และควรแจ้งผู้ดูแลเว็บไซต์ทันที เมื่อพบกิจกรรมที่น่าสงสัย เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกโจมตี
10. จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเว็บไซต์
สำหรับวิธีการสุดท้ายในการทำเว็บไซต์ให้มีความปลอดภัย นั่นคือ หากคุณไม่ถนัดในการดูแลเว็บไซต์เอง ให้ทำการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแลด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์แบบโดยเฉพาะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะต้องสามารถดำเนินการตรวจสอบในเรื่องความปลอดภัย ระบุช่องโหว่ และดำเนินการป้องกัน รักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ การรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์ ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเลยใช่ไหมคะ อย่าลืมนำวิธีการด้านบนไปใช้ในการทำเว็บไซต์ให้มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ปกป้องข้อมูลผู้ใช้งานได้ดี และป้องกันการถูกโจมตีบนเว็บไซต์ได้
- Tel : 081 116 1001
- Line Id : 1001click
- Email : info@1001click.com