CYBER SECURITY คืออะไร เครื่องมือสร้างความปลอดภัยที่ทุกเว็บไซต์ต้องมี!?
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่เข้ามาทำธุรกิจบนเว็บไซต์ เพราะความสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นจำนวนมากและหลากหลาย นั่นเป็นความคิดที่ดี แต่ในโลกใบนี้ ไม่มีที่ไหนปลอดภัย 100% แม้จะเป็นในโลกดิจิทัลก็ตาม เพราะฉะนั้นในบทความนี้ 1001 Click จะพาคุณมาทำความรู้จักกับเครื่องมือรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Cyber Security สิ่งนี้คืออะไร และจะช่วยคุณให้เว็บไซต์ของคุณรอดพ้นจากการถูกโจมตีได้อย่างไร มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
CYBER SECURITY คืออะไร?
เครื่องมือรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ หรือ Cyber Security คือเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการโจมตี การโจรกรรม หรือการกระทำอะไรก็ตามที่หวังผลในแง่ร้ายกับเว็บไซต์ เครือข่าย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือของคุณ
CYBER SECURITY สำคัญอย่างไร?
ในมุมของคนทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัล หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรืออุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจให้เดินหน้าต่อ ล้วนเป็นสิ่งของสำคัญที่ต้องรักษาไว้ใช่มั้ยครับ อีกทั้งโฟลเดอร์จัดเก็บข้อมูลสำคัญภายในองค์กรต่าง ๆ หรือระบบการจัดเก็บข้อมูลสำคัญของลูกค้า โดยเฉพาะการเข้ารหัสที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมของลูกค้า ทุกอย่างเป็นสิ่งที่ต้องรักษาเป็นความลับ เพราะฉะนั้น Cyber Security จึงมีบทบาทอย่างมากที่จะเข้ามาปกป้องสิ่งสำคัญเหล่านั้น
การมองข้าม Cyber Security คือสิ่งที่ผิดมหันต์ เหมือนกับการเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ให้ใครเข้ามาหยิบของไปก็ได้ ลองนึกภาพว่าวันนึง เว็บไซต์ของคุณทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าขาย มีการทำธุรกรรมภายในเว็บไซต์ตลอดเวลา มีการเชื่อมบัตรเครดิต หรือจำเป็นต้องให้ลูกค้ากรอกข้อมูลสำคัญลงไป จนกระทั่งเว็บไซต์คุณถูกโจมตี หรือถูกแฮก นั่นหมายถึงหายนะต่อทั้งลูกค้า และธุรกิจของคุณ ที่อาจส่งผลร้ายแรงไปจนถึงการปิดกิจการในที่สุด
รูปแบบ CYBER SECURITY คืออะไร และมีอะไรบ้าง?
Cyber Security คือสิ่งสำคัญสำหรับแวดวงธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีอะไรให้ศึกษาอยู่มากมาย และตลอดเวลา เนื่องจากมัลแวร์ หรือการโจรกรรมข้อมูลต่าง ๆ ก็พากันอัปเดตตัวเองอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ก็ต้องมีการพัฒนาตัวเองด้วยเช่นกัน โดยรูปแบบการป้องกัน และควรใส่ใจเป็นพิเศษของ Cyber Security คืออะไร มีดังต่อไปนี้…
1. NETWORK SECURITY - ระบบป้องกันความปลอดภัยแก่เครือข่าย
โดย Network Security นั้น จะเน้นการป้องกันการเข้าแทรกแทรง และบุกรุกจากผู้ไม่หวังดี โดยจะคอยปกป้องระบบภายใน โครงสร้างเน็ตเวิร์ก และระบบหลังบ้านเว็บไซต์ของคุณให้ปลอดภัยด้วยไฟร์วอล (Firewall) โดยที่ไฟร์วอลจะคอยตรวจจับมัลแวร์ รวมทั้งโปรแกรมต่าง ๆ ที่จะเข้ามาโจมตีระบบของคุณได้
2. APPLICATION SECURITY - ระบบป้องกันความปลอดภัยสำหรับแอปพลิเคชั่น
โดย Apllication Security นั้น จะเน้นปกป้อง และให้ความสำคัญกับการป้องกันซอร์ฟแวร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ เพื่อไม่ให้ถูกคุกคามจากโปรแกรมมัลแวร์ต่าง ๆ การตรวจสอบแอปพลิเคชั่นให้บ่อย และอัปเดตอยู่เสมอ ก็สามารถป้องกันการถูกโจมตีหรือโจรกรรมข้อมูลได้ดี และการใช้ไฟร์วอล หรือโปรแกรมป้องกันการแฮกควบคู่ไปด้วยก็สำคัญ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยของแอปพลิเคชั่น หรือ Application Security Testing ได้ที่นี่
3. COULD SECURITY - ระบบป้องกันความปลอดภัยสำหรับคลาวด์
จุดประสงค์ทุกรูปแบบของ Cyber Security คือการปกป้องข้อมูลขององค์กร และลูกค้าไม่ให้รั่วไหลออกไป รวมทั้งป้องกันอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ให้ถูกมัลแวร์ทำลายจนเกิดความเสียหายอีกด้วย ทั้งนี้ในปัจจุบัน ข้อมูลในระบบดิจิทัลส่วนใหญ่ ถูกจัดเก็บอยู่ในระบบที่เรียกว่าคลาวด์ (Could) ระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ในระบบดิจิทัลคลาวด์นั้นเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลที่แน่นหนา และเจาะระบบได้ยาก แต่เรื่องจากยังไม่เป็นที่คุ้นชินกันในแวดวงธุรกิจ จึงยังไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมใช้
4. INFORMATION SECURITY - ระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูล
โดย Information Security นั้น จะเน้นปกป้อง และให้ความสำคัญกับการป้องกันข้อมูลสำคัญของทั้งองค์กร และลูกค้าให้ปลอดภัยในระบบหลังบ้าน หรือระหว่างการส่งต่อข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ หรือเว็บไซต์ โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรม
5. IOT SECURITY - ระบบรักษาความปลอดภัยของการเชื่อมโยงอุปกรณ์ด้วยอินเทอร์เน็ต
IoT หรือ Internet of Things เป็นนวัตรกรรมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือเพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิด รถยนตร์ การเปิดปิดประตูบ้าน ทุก ๆ การเชื่อมต่อเหล่านี้เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เพื่อป้องกันการแฮกและใช้ประโยชน์จากจุดนี้
6. END USER EDUCATION - ระบบการรักษาความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน
มีผู้คนทั่วไป หรือพนักงานบริการมากมาย ที่ยังขาดความรู้ และความเข้าใจในการป้องกันอุปกรณ์ของตัวเองไม่ให้ติดกับมัลแวร์ หรือไวรัสต่าง ๆ เพราะฉะนั้น การสร้างความเข้าใจให้พนักงานภายในองค์กร ให้รู้จักกับ phishing mail หรือไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมมั่วซั่ว เลี่ยงการใช้ handy drive ก็นับว่าเป็น Cyber Security รูปแบบหนึ่งเช่นกัน
6. BUSINESS CONTINUITY - กระบวนการป้องกันภัยคุกคามต่อธุรกิจ
เป็นการวางระบบ และโครงสร้างองค์กรให้พร้อมรับมือหากถูกผู้ไม่หวังดีคุกคาม และเจาะเข้ามาขโมยข้อมูลภายในเว็บไซต์ หรือคลาวด์ของเราอยู่ตลอดเวลา
โดยทั้ง 7 ประเภทข้างต้นนี้ เป็นรูปแบบ Cyber Security ที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อให้ข้อมูลสำคัญทุกอย่าง รวมทั้งอุปกรณ์ของคุณยังใช้งานได้ดี และเป็นความลับต่อไป
5 เคล็ด(ไม่)ลับ เกี่ยวกับ CYBER SECURITY
หลังจากที่ทราบว่ารูปแบบ Cyber Security รูปแบบใดที่เราควรระวัง และให้ความใส่ใจในการป้องกันเป็นพิเศษแล้ว ก่อนจากกัน เรามี 5 เคล็ด(ไม่)ลับ เกี่ยวกับ Cyber Security มาบอกคุณ
- อัปเดตระบบ และหมั่นตรวจสอบหาจุดบอดหรือข้อผิดพลาดอยู่เสมอ
- ใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสแท้ หากธุรกิจของคุณค่อนข้างใหญ่ และมีชื่อเสียง อย่าห่วงใช้ของถูกหรือของฟรี ให้ลงทุนกับมันเพื่อความปลอดภัยของระบบ และอุปกรณ์ขององค์กร
- มีการใช้พาสเวิร์ดสำหรับเข้าระบบหลังบ้านที่ยากต่อการสุ่ม (ห้าม 1234!)
- อย่าเปิดอีเมลมั่วซั่ว ระวัง phishing
- อย่าใช้ไวไฟสาธารณะในการทำธุรกรรม หรืออัปเดตระบบหลังบ้าน
สำหรับบทความนี้ เราหวังว่า คุณจะเห็นภาพ และทำความเข้าใจได้มากขึ้นแล้วว่า Cyber Security คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และประเภทหรือรูปแบบในการป้องกันที่สำคัญมีอะไรบ้าง ทั้งนี้การป้องกันที่ดี ก็สามารถเริ่มต้นได้จากการมีรากฐานซอร์ฟแวร์ หรือเว็บไซต์ที่ดีได้เช่นกัน
หากคุณกำลังมีแผนที่จะทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มเว็บไซต์ หรือมีแผนที่จะพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้น อย่าลังเลที่จะเลือกใช้บริการของเรา 1001 Click บริษัทรับทำเว็บไซต์ ที่จะช่วยสร้างรากฐานที่ดี การันตีเพิ่มความแข็งแรงให้กับเว็บไซต์ของคุณ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ 1001 Click
- สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาได้ที่ 081 116 1001
- Line Id : 1001click
- Email : info@1001click.com