ปุจฉา! การสร้างแอปพลิเคชั่น จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างนะ?
ธุรกิจหลายเจ้าที่มีการให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตในสมัยนี้มีตัวเลือกในการเข้าถึงลูกค้าได้แบบใกล้ชิดเลยทีเดียว นั่นก็คือการสร้างแอปพลิเคชั่นนั่นเอง เพราะเมื่อคุณมีแอพพลิเคชั่นแล้วการที่ลูกค้าจะเข้าถึงบริการของคุณนั้นสะดวกมากจริง ๆ เรียกได้ว่า อยู่แค่ปลายนิ้วเลยทีเดียว และด้วยสาเหตุนี้เองธุรกิจหลายเจ้าที่มีแอปจึงกวาดลูกค้าไปจากคู่แข่งจนได้ส่วนแบ่งการตลาดไปชิ้นโตกันเลยทีเดียว ธุรกิจหลาย ๆ แบรนด์จึงอาจกำลังมีโปรเจกต์สร้างแอปพลิเคชั่นของตัวเองขึ้นมา แต่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าจะไปต่อดีหรือเปล่า เพราะยังไม่ทราบว่ายังต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรกันบ้าง วันนี้เราไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อต้นทุนในการสร้างแอปพลิเคชั่น?
ความซับซ้อนของแอปพลิเคชัน
นับว่าเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อค่าสร้างแอปพลิเคชั่นเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นที่เข้าใจกันดีว่ายิ่งแอปซับซ้อนมากเท่าไหร่ การพัฒนาก็จะยากขึ้นตามเท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนว่าจำเป็นต้องใช้นักพัฒนาที่เขียนโค้ดที่ซับซ้อนได้แบบมืออาชีพทีเดียว เพราะยิ่งโค้ดซับซ้อนมาก ข้อบกพร่องต่าง ๆ ก็ยิ่งเกิดขึ้นได้เยอะ เพราะฉะนั้นหากแอปที่เราต้องการยิ่งมีฟีเจอร์และฟังก์ชันการทำงานมากเท่าไหร่ รวมถึงความซับซ้อนในการออกแบบด้วย ราคาค่าใช้จ่ายในส่วนต้นนี้ก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเองครับ
แพลตฟอร์ม
สำหรับการสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับธุรกิจนั้น การเข้าถึงลูกค้าได้เป็นวงกว้างมากเท่าไหร่ ก็ย่อมดีต่อธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น แต่ทั้งนี้ แต่ละแพลตฟอร์ม (Android, iOS, Windows) ต่างก็มีกระบวนการสร้างแอปพลิเคชั่นที่แตกต่างกันไป การพัฒนาแอปพลิเคชันให้ทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ (Cross-platform Application) จึงต้องใช้ทั้งทรัพยากรณ์และเวลาที่มากกว่าแอพที่ทำงานได้บนแพลตฟอร์มเดียว ปัจจัยข้อนี้ถือว่ามีผลต่อค่าใช้จ่ายพอสมควรเลยทีเดียว
ประเภทของแอพ
แอปพลิเคชันในทุกวันนี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งก็คือ
1. Web Application
เป็นแอปพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องติดตั้งลงบนเครื่อง สามารถเปิดใช้งานได้รวดเร็วและไม่กินทรัพยากรณ์ของเครื่องมากนัก
2. Native Application
เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานบนระบบปฏิบัติการหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ โดยใช้ชุดคำสั่งและเครื่องมือที่เหมาะสมกับแพลตฟอร์มนั้น ๆ เช่น iOS ใช้ภาษา Objective-C หรือ Swift และ Android ใช้ Java หรือ Kotlin ข้อดีคือใช้ประโยชน์ของแต่ละ OS ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แต่หากต้องการแอปสำหรับหลาย OS ก็ต้องพัฒนาแยกต่างหาก
3. Hybrid Application
เป็นแอปที่ผสมผสานระหว่าง Native App และ Web App ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งบนแพลตฟอร์ม iOS และ Android โดยการพัฒนาเพียงครั้งเดียว เนื่องจากเขียนโค้ดครั้งเดียวแล้วสามารถรันได้ทั้งบนเว็บเบราเซอร์และเป็นแอปติดตั้งได้เลย ทำให้ประหยัดทั้งต้นทุนและเวลาในการพัฒนา นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว
โดยการสร้างแอปพลิเคชั่นแต่ละประเภทก็จะใช้กรอบเวลาและทรัพยากรณ์ที่ต่างกันไป ราคาสำหรับแต่ละประเภทจึงต่างกันไปด้วยนั่นเอง
การออกแบบ UX/UI
การออกแบบ UI ที่เรียบง่ายจะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า แต่ถ้าเราต้องการให้แอปทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างราบรื่นในขณะที่ใช้งานง่าย ก็อาจต้องจ้างนักออกแบบ UX/UI มืออาชีพ ซึ่งก็เป็นต้นทุนการสร้างแอปพลิเคชั่นที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง เนื่องจากองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น อนิเมชั่นล้ำ ๆ หรือ Interactive Components ที่สร้างขึ้นเฉพาะแอปนั้น ๆ ต่างก็มีความซับซ้อน ต้องใช้ทักษะ ประสบการณ์ และความพยายามกว่าจะออกมาสวยงามและใช้งานได้จริง
ทีมพัฒนา
ขนาดของทีมพัฒนาที่จะมาสร้างแอปพลิเคชั่นก็มีส่วนในการคำนวณต้นทุน เช่น บริษัทรับพัฒนาแอปมืออาชีพซึ่งจะต้องมีทั้ง นักออกแบบ นักพัฒนา Project Manager ไปจนถึงนักทดสอบระบบ เมื่อมีจำนวนสามชิกมาก ค่าใช้จ่ายก็ย่อมสูงขึ้น แต่คุณภาพของแอปก็จะมากขึ้นและระยะเวลาในการพัฒนาก็จะสั้นลงตามความสามารถของทีม ในขณะเดียวกัน หากเราจ้างนักพัฒนาฟรีแลนซ์ การสร้างแอปพลิเคชั่นก็อาจมีต้นทุนที่ถูกลง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยระยะเวลาที่นานขึ้นนั่นเอง
โครงสร้างพื้นฐานด้านแบ็กเอนด์
โครงสร้างพื้นฐานด้านแบ็กเอนด์ก็มีส่วนในการกำหนดต้นทุนการสร้างแอปพลิเคชั่นเช่นกัน เนื่องจากเป็นรากฐานที่สนับสนุนการทำงานของแอปพลิเคชัน ตั้งแต่การจัดการฐานข้อมูลไปจนถึงการรองรับการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ ความต้องการด้านความปลอดภัย และการรวมระบบต่าง ๆ ล้วนสามารถเพิ่มต้นทุนได้ แอปที่มีความซับซ้อนสูงหรือมีคุณสมบัติขั้นสูงอย่าง AI, ML, AR/VR, กราฟิก 3D, หรือการคำนวณที่ซับซ้อน อาจต้องการแบ็กเอนด์ที่ซับซ้อน ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามมาด้วย
นอกจากนี้ยังอาจต้องพิจารณาถึงการผสานรวมบริการ Third Party และค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา ซึ่งมีผลกระทบต่อต้นทุนการสร้างแอปพลิเคชั่นเช่นกัน บริการเหล่านี้มักจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว เช่น ค่าธรรมเนียมการสมัครใช้งานหรือค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม นอกจากนี้ การบำรุงรักษาและอัพเดตแอปพลิเคชันก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อต้นทุนระยะยาวเช่นกัน ซึ่งรวมถึงการอัปเดตเพื่อความเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ การแก้ไขข้อบกพร่อง และการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ แต่การลงทุนในการบำรุงรักษาที่ดีจะช่วยประหยัดเงินในระยะยาวได้ โดยการลดความจำเป็นในการสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่และการรักษาฐานผู้ใช้งานเดิมนั่นเอง
สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังมีโปรเจกต์สร้างแอปพลิเคชั่นให้กับแบรนด์ของตัวเองอยู่ ก็สามารถติดต่อเข้ามาใช้บริการของ 1001 Click หรือขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทาง
- Line ID: 1001click
- Tel: 081 116 1001
- E-mail: info@1001click.com