6 เคล็ด(ไม่)ลับ ทำเว็บไซต์ขายสินค้าให้ประสบความสำเร็จ
เมื่อกล่าวถึงการทำธุรกิจ แน่นอนว่าหลายคนก็มีคำที่เกี่ยวข้องกับคำว่าออนไลน์ผุดขึ้นมาในหัวไม่คำใดก็คำหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น้ โซเชียลมีเดีย, E-commerce, รวมถึงไปถึงคำว่าเว็บไซต์ เพราะแต่ละช่องทางล้วนเป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้เยอะ ง่าย และบางแห่งก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย
เราต่างปฏิเสธไม่ได้เลยว่า E-commerce เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ ความแรงของอินเทอร์เน็ต สื่อโซเชียลมีเดีย รวมถึงสิ่งบันเทิงต่าง ๆ ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคของคนเปลี่ยนไป เมื่ออินเทอร์เน็ตครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่และราคาสินค้าทางออนไลน์ก็ถูกกว่าหน้าร้าน ผู้บริโภคหลายคนก็หันมาสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นหลายธุรกิจก็จำเป็นต้องปรับตัวมาขายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ด้วย โซเชียลมีเดีย
หลายคนอาจมีคำถามว่า ในเมื่อมีโซเชียลมีเดีย, Shoppee, Lazada หรือ Tiktok ให้ลงขายสินค้าแล้ว ทำไมบริษัทจึงต้องทำเว็บไซต์ขายสินค้าขึ้นมาด้วย นั่นเพราะการมีเว็บไซต์ขายสินค้าเป็นของตัวเองนั้นทำให้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ส่งผลให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น และยังเป็นช่องทางในการเชื่อมต่อช่องทางโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ให้เราสามารถทำการตลาดได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของเราได้นั่นเอง
หลังจากได้ทราบข้อดีของการมีเว็บไซต์ขายสินค้าเป็นของตัวเองแล้ว สิ่งต่อไปที่ทุกท่านคงอยากทราบนั่นก็คือ แล้วเราจะทำเว็บไซต์ขายสินค้ายังไงให้สามารถแข่งขันในสนามอันดุเดือดนี้ได้ ในวันนี้ผู้เขียนจึงจะพามาดู 6 เคล็ด(ไม่)ลับ ทำเว็บไซต์ขายสินค้าให้ประสบความสำเร็จ
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
1. กำหนดสินค้าและกลุ่มเป้าหมาย
ก่อนจะเริ่มทำเว็บไซต์ขายสินค้า เราต้องมีการกำหนดสินค้าที่เราจะลงขายก่อน หากมีการลงขายในแพลตฟอร์มอื่นก็ต้องไปดูว่าสินค้าแต่ละตัวสามารถลงขายในเว็บไซต์ของตนเองได้หรือไม่ เพราะสินค้าบางตัวอาจจะติดสัญญา หรือข้อจำกัดที่สามารถขายให้ Vendor เดียวเท่านั้น หากละเมิดสัญญาอาจนำมาซึ่งความเสียหายได้ รวมถึงการจะเริ่มทำเว็บไซต์ก็ควรมีการดูว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร เพราะกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มก็มีประสบการณ์ผู้ใช้ที่อยากได้ต่างกัน ดังนั้นข้อมูลส่วนนี้ก็จะช่วยให้เราสามารถกำหนดทิศทางในการสร้างและตั้งค่าเว็บไซต์ของเราได้
2. ออกแบบโครงสร้างและหน้าตาของเว็บไซต์ให้เหมาะสม
เมื่อทราบแล้วว่าจะลงขายสินค้าใดและกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร เคล็ดลับต่อมาคือการออแบบโครงสร้างและหน้าตาของเว็บไซต์ว่ามีจำนวนกี่หน้า แต่ละหน้าประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งปกติในการสร้างแบรนด์ย่อมมีการกำหนดความเป็นตัวตนของแบรนด์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสี ฟอนต์ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ดังนั้นการทำเว็บไซต์ขายสินค้าก็ควรไปในทิศทางเดียวกับแบรนด์หรือสินค้าของเรา เลือกรูปแบบและสีให้สอดคล้องกับธุรกิจ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเชื่อมโยงสินค้าและแบรนด์ของเราเข้าด้วยกันได้
3. มีรูปภาพและบอกรายละเอียดสินค้าให้ชัดเจน
แน่นอนว่าจุดอ่อนของ E-commerce ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้คือการที่ลูกค้าได้สัมผัส จับ หรือลองของจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ดังนั้นหากเราต้อการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ เราก็ควรบอกรายละเอียดของสินค้า ไม่ว่าจะเป็น สี ขนาด มีรูปภาพให้ลูกค้าได้ดู ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ภาพถ่ายเทียบกับไม้บรรทัด ขนาดมือ รวมถึงภาพถ่ายพื้นผิวของสินค้านั้น ๆ เพื่อให้ลูกค้าจินตนาการได้เห็นภาพได้ชัดเจนเพื่อประกอบการตัดสินใจ ก็จะช่วยลดจุดอ่อนของการขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ได้
4. ตั้งชื่อสินค้าให้ค้นหาได้ง่ายที่สุด
แม้ว่าสินค้าของเราจะถูกผ่านการคิดชื่อมาอย่างยากลำบาก แล้วยังมีชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ แต่การตั้งชื่อสินค้าบนเว็บไซต์นั้นก็ควรจะตั้งชื่อให้ง่ายต่อการค้นหาด้วย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีผู้ใช้จำนวนมากค้นหาสินค้าต่าง ๆ บนช่องค้นหาของ Google หากเราใช้ชื่อที่เป็นเอกลักษณ์จนเกินไป เครื่องมือค้นหาก็จะไม่สามารถแสดงสินค้าเราขึ้นมาให้ผู้ใช้เห็นได้ ดังนั้นหากอยากจะตั้งชื่อสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ก็ควรมีการเพิ่มชื่อสินค้าที่เป็นมาตรฐานด้วย
5. ระบบการชำระเงินที่ปลอดภัย
อย่างที่ทราบกันดีว่าทุกวันนี้มิจฉาชีพชุมยิ่งกว่ายุงในช่วงหน้าฝน ดังนั้นเมื่อเว็บไซต์ของเราสามารถดึงดูดผู้ใช้ให้กดสั่งซื้อสินค้ามาจนถึงหน้าการชำระเงินแล้ว เราก็ควรสร้างระบบการชำระเงินที่น่าเชื่อถือและปลอดภัยสำหรับลูกค้าด้วย อีกทั้งควรจะมีวิธีการชำระเงินที่หลากหลายให้ลูกค้าได้เลือก เช่น บัตรเดบิต บัตรเครดิต และคิวอาร์โค้ด เป็นต้น ไม่ควรสร้างระบบให้ผู้ใช้ต้องสมัครสมาชิกแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ เนื่องจากอาจทำให้ลูกค้าที่เพิ่งเปิดใจสั่งสินค้าจากเว็บไซต์เราครั้งแรกเกิดความยุ่งยากใจจนกดออกจากหน้าการชำระเงินในที่สุด
6. การตลาดออนไลน์
สิ่งที่ขาดไม่ได้ในโลกการแข่งขันอันดุเดือดนี้คงจะหนีไม่พ้นการตลาดออนไลน์ เพราะเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถปรับการตลาดได้อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนของตลาดและทิศทางของธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถวัดและประเมินผลได้อย่างชัดเจน
การทำเว็บไซต์ขายสินค้าที่ดีจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ เพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าของลูกค้า อีกทั้งยังช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้อีกด้วย
ถ้าหากท่านพอจะมีแนวทางคร่าว ๆ ในการทำเว็บไซต์ขายสินค้าแล้ว แต่ก็ยังไม่รู้จะเริ่มยังไง ให้เรา 1001 Click บริษัทรับสร้าง แก้ไข และปรับปรุงเว็บไซต์องค์กร ธุรกิจ และบริษัท ดูแลได้ เรามีบริการดูแลเรื่องโฮสติ้ง การทำ SEO ให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ สำหรับเว็บไซต์ของธุรกิจ
หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.1001click.com/
หรือติดต่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทาง
- Tel : 081 116 1001
- Line Id : 1001click
- Email : info@1001click.com