5 เครื่องมือแนะนำ ช่วยปั้นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชให้ประสบความสำเร็จ
ในช่วงที่กระแสเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชกำลังมาแบบนี้ ได้เวลาปลุกปั้นเว็บไซต์ขายของดี ๆ มาลงแข่งในตลาดบ้างแล้ว หลายคน ๆ อาจจะเริ่มคิดแบบนี้ แต่เดี๋ยวก่อน รู้กันรึยังว่าเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชที่จะสร้างกัน ต้องมีเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบต่าง ๆ นะ เพราะฉะนั้น 10 เครื่องมือ ช่วยปั้นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชต่อไปนี้ เป็นกลุ่มเครื่องสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน ว่าแต่จะเครื่องมือแต่ละตัวมีแบบไหน และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ไปดูพร้อม ๆ กัน
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
การเลือกเครื่องมือช่วยสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชสำคัญอย่างไร
ขอแวะในหัวข้อนี้กันก่อนสักครู่หนึ่ง สร้างความเข้าใจร่วมกันว่าทำไมการเลือกใช้เครื่องในการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชถึงสำคัญ กล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ นั้น เพราะเว็บไซต์อีคอมเมิร์ช เป็นเรื่องของธุรกรรม การอัปเดตที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และการตรวจสอบออเดอร์ต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวกับ ไม่ใช่เว็บไซต์บริษัท หรือองค์กรทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวใด ๆ ทำให้สามารถใช้เว็บเปล่า หรือติดตั้งเครื่องมือนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ดูแลได้แล้ว แต่สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชนั้น ทั้งการตั้งสถานะลูกค้า การรับออเดอร์ การทำคูปอง และอื่น ๆ อีกมากมายที่คนดูแลเว็บไซต์ต้องทำด้วยตัวเอง และผู้ดูแลเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชหลาย ๆ เจ้าก็ไม่ค่อยจะมีความรู้ในส่วนของระบบเว็บไซต์อย่างจริงจังสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นยิ่งได้เครื่องมือที่ใช้งานง่ายมากเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดเท่านั้น
5 เครื่องมือ ช่วยปั้นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ช
1. WORDPRESS & WOOCOMMERCE PLUG-IN
ต้องยอมรับว่าการทำเว็บไซต์ด้วย Wordpress นั้น เป็นรูปแบบเว็บไซต์ที่ได้ความนิยมมาก ๆ ในกลุ่มเว็บไซต์อีคอมเมิร์ช เพราะใช้งานง่าย มีปลั๊กอินเสริมมากมายให้เลือกใช้ และปรับแต่ง SEO ควบคู่ไปได้ง่ายอีกด้วย โดยสำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชนั้น ก็จะมีเครื่องมือ WooCommerce เครื่องที่มีระบบค่อนข้างครอบคลุมในการทำเว็บค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม-ลดสินค้า เช็กสถานะสินค้า สถานะลูกค้า การทำคูปอง และการเก็บสถิติต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือ และปลั๊กอินที่เราค่อนข้างแนะนำ
2. SHOPIFY
สำหรับ Shopify นั้น ได้รับความสนใจเพราะชื่ออาจจะไปคล้ายกับเว็บ Market Place ชื่อดัง และเป็นแพลตฟอร์มสำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชโดยเฉพาะ เป็นหนึ่งในรูปแบบเว็บไซต์เทมเพลตคล้าย ๆ กับ Wordpress เช่นกัน ข้อดีหลัก ๆ ของเจ้านี้คือใช้งานง่าย มีคลิปสอนใช้งานตามอินเทอร์เน็ตให้ศึกษาเอาเองได้เยอะมาก สามารถลิงก์ร้านค้าเว็บไซต์กับโซเชียลแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ง่ายอีกด้วย
3. LNWSHOP
อีกหนึ่งเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ ขวัญใจชาวอีคอมเมิร์ช LnwShop มีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย เพราะเว็บไซต์มีเทมเพลตให้เลือกใช้งานได้ อีกทั้งยังสามารถทำหน้าบทความ หรือหน้าเว็บไซต์อื่น ๆ ประกอบร่วมได้ สามารถเพิ่ม และลดสินค้าได้ง่ายเช่นกัน ทั้งนี้ข้อดีของ LnwShop คือคอมมูนิตี้ค่อนข้างใหญ่ มีทีมงานคอยตอบคำถาม หากเกิดปัญหาในการใช้งาน
4. WIX
สำหรับ Wix นอกจากที่จะรู้จักกันในชื่อเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ทั่วไปที่ใช้งานได้แบบง่ายสุด ๆ แล้วนั้น (ง่ายจริง ๆ นะ แค่เลื่อนเทมเพลตจับวางได้ตามใจเลย) สำหรับการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชก็นิยมใช้ด้วยเช่นกัน แต่สำหรับ Wix นั้น มักจะมีข้อกังขาเรื่อง Page Speed ที่ปรับค่อนข้างยาก และมีการดาวน์โหลดที่ใช้เวลานิดหน่อย แลกมากับการใช้งานที่ค่อนข้างง่าย ถ้าสินค้าไม่เยอะมากก็สามารถใช้งานได้
5. MAGENTO
สำหรับ Magento เครื่องตัวสุดท้ายที่บทความนี้นำมาแนะนำ การใช้งานไม่ได้ง่ายเท่ากับ LnwShop และ Wix แต่ก็ไม่ได้ใช้งานง่ายจนเกินไป ตัวระบบมีความยื่นหยุ่นทำระบบต่าง ๆ ได้ครอบคลุมคล้ายกับ Wordpress แถมยังได้ชื่อว่าเป็น Commerce Cloud ที่สามารถอัปโหลดข้อมูลสินค้า และข้อมูลเว็บไซต์ต่าง ๆ ลงไว้ในระบบ Cloud ได้ ทำให้ไม่ค่อยจะมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บข้อมูล
เป็นยังไงกันบ้างกับ 5 เครื่องมือที่เรานำมาแนะนำ ซึ่งข้อมูลโดยละเอียดของแต่ละตัวนั้น ค่อนข้างมากเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นใครที่อ่านรายละเอียดคร่าว ๆ ตัวไหนและสนใจบริการตัวเต็ม สามารถนำไปต่อยอดเพื่อเสิร์ชต่อกันได้เลย หรือหากใครอยากปรึกษา และมีแผนที่จะทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชที่ใช้งานได้ดี มีระบบที่เข้าใจ และอยากออกแบบเองได้ 1001 Click ยินดีให้บริการ เพราะเราคือบริษัทรับทำเว็บไซต์ทุกรูปแบบ รวมถึงเว็บไซต์อีคอมเมิร์ช หากสนใจรายละเอียด และบริการจากเรา ดูเพิ่มเติมได้ที่ บริการสร้างเว็บไซต์ E-Commerce
ไม่ว่าจะเลือกใช้เครื่องมือสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชด้วยตัวไหนก็ตาม การดูแลเว็บไซต์ด้วยผู้ที่มีความรู้ และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องก็จำเป็นเช่นกัน รวมไปถึงปัจจัยในการทำการตลาด ก็เป็นสิ่งที่อีคอมเมิร์ชจะขาดไม่ได้ เพราะฉะนั้นนอกจากจะศึกษาเกี่ยวกับตัวเครื่องมือที่จะใช้แล้ว การศึกษาเกี่ยวกับแผนการตลาด และศึกษาเกี่ยวกับการดูแลระบบเว็บไซต์ร่วมด้วย จะเป็นเส้นทางที่มีประสิทธืภาพมากที่สุด
หากในบางกรณีที่เครื่องมือเหล่านี้ยังไม่ตอบโจทย์ หรือต้องการเว็บไซต์ที่มีความเฉพาะตัวสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการทำงาน หรือเอกลักษณ์ในด้านต่าง ๆ ที่เครื่องมือทั้ง 5 ตัวนี้ให้ไม่ได้ การศึกษาหรือมองหาบริการรับทำเว็บไซต์แบบ Customize E-commerce ที่มีความยืดหยุ่น และมีอิสระมากกว่าอาจจะเหมาะกับคุณ โดย 1001 Click เราคือผู้ให้บริการรับทำเว็บไซต์ ที่เชี่ยวชาญทั้งด้านการสร้างเว็บไซต์ และ Customize ระบบต่าง ๆ ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า มีประสบการณ์ในแวดวงบริการรับทำเว็บไซต์มาอย่างยาวนาน หากสนใจดูรายละเอียด หรืออยากปรึกษาการ Customize เว็บไซต์อีคอมเมิร์ช ติดต่อเราได้ที่เว็บไซต์ 1001 Click
- สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาได้ที่ 081 116 1001
- Line Id : 1001click
- Email : info@1001click.com