5 DO AND 5 DO NOT การออกแบบหน้าเว็บเพจ อยากทำเว็บต้องรู้
“การออกแบบหน้าเว็บเพจ เป็นทั้งศิลปะ และประตูด่านแรกในการสร้างความประทับใจ” หนึ่งในผลสำรวจจากเว็บไซต์ดิจิทัลมาเก็ตติ้งจากต่างประเทศ บอกกับเราว่า “มีโอกาสมากถึง 38 เปอร์เซ็น ที่ยูสเซอร์จะหยุดใช้งานเว็บไซต์ที่มีหน้าตา เนื้อหา และการวางเลเอาท์ที่ไม่น่าสนใจ” (ขอบคุณข้อมูลสถิติจากเว็บไซต์ SWEOR) เห็นแบบนี้เรา ไม่ว่า Page Speed เราจะไว หรือเว็บไซต์จะเสถียรใช้งานง่ายแค่ไหน แต่ถ้าหน้าตาไม่น่าสนใจ ก็อาจจะพลาดโอกาสในการเพิ่ม Traffic ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นในบทความนี้ 1001 Click จะพามาแนะนำ 5 DO & DON’T ในการออกแบบหน้าเว็บเพจ แบบไหนทำแล้วดี แบบไหนทำแล้วพัง รู้ไว้ ได้เว็บดีแน่นอน
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
5 DO’S - 5 แนวทางการออกแบบหน้าเว็บเพจแนะนำ ที่ทำแล้วดี
1. การออกแบบแถบเมนูให้ใช้งานง่าย
แถบเมนูหรือ Navigator Bar หนึ่งสิ่งสำคัญที่เป็นดั่งรถโดยสารมีหน้าที่นำพาเหล่ายูสเซอร์ไปส่งยังพื้นที่ต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ของเรา การใส่ใจในการออกแบบเมนูนั้น เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่เราควรจะให้ความสนใจ เพราะฉะนั้นควรเลือกหมวดหมู่ที่เราคิดว่าสำคัญที่สุดมาวางไว้บนเมนู พร้อมทั้งปรับแต่งสีสันให้มองเห็นง่าย ใครที่ใช้ Transparent Navigation Bar หรือเมนูแบบโปร่งใสนั้นก็ต้องมั่นใจว่าจะไม่พลาดเลือกสีที่จมไปกับ Banner เน้นให้สีตัดกัน เพื่อที่ผู้ใช้งานจะสามารถมองเห็น และใช้งานเมนูเหล่านั้นได้สะดวกที่สุด
2. การออกแบบหน้าเว็บเพจให้เข้าใจได้ในการมองครั้งเดียว
การออกแบบเว็บเพจโดยวางหัวข้อเด่น ๆ ที่บอกชื่อสินค้า หรือบริการไว้อย่างชัดเจนจะช่วยให้ผู้ใช้งานตัดสินใจใช้เวลาในการท่องไปในเว็บไซต์ของคุณยาวนานขึ้น รวมไปถึงการใช้ภาพสินค้า และบริการเป็นองค์กรหลักในหน้าเพจยังทำให้ผู้ใช้งานตัดสินใจอยู่ในเว็บไซต์ของคุณยาวนานกว่าการมีข้อความยาว ๆ เป็นปื้น ๆ แน่นอน เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้งานหน้าใหม่ที่เข้ามายังเว็บไซต์นั้นมักจะสกรอล์ประมาณ 3 ครั้ง เพื่อสแกนเนื้อหาคร่าว ๆ ภายในเว็บไซต์ของคุณ หากมันไม่สามารถสร้างความเข้าใจให้ได้ภายใน 3-4 สกรอล์เมาส์ แน่นอนว่าโอกาสที่เว็บไซต์จะถูกปิดนั้นมีสูงมากแน่นอน
Note: สำหรับการวางเลเอาท์จะมีหลักการที่นิยมใช้กันคือ “F” reading shape และ “Z” reading shape เป็นกลไกการไล่ระดับสายตาของมนุษย์ ใครสนใจสามารถนำคีย์เวิร์ดทั้งสองไปเสิร์ชเพื่อศึกษาต่อได้เลย
3. การออกแบบหน้าเว็บเพจให้มีเนื้อหาบางส่วนเป็นภาษาพูด
การใช้ภาษาพูด สอดแทรกมาเป็นกอปี้ (Copywriting) สักหนึ่งบรรทัด หรือหนึ่งพารากราฟภายในเว็บไซต์ เป็นการเพิ่มจุดสนใจให้กับเว็บไซต์ของคุณได้อย่างเช่นกัน เพราะในหลาย ๆ ครั้งภาษาเขียนนั้นอาจจะดูเป็นทางการ และสร้างความน่าเบื่อในการอ่านเนื้อหามากเกินไป เพราะฉะนั้นการใส่เนื้อหาสนุก ๆ ที่ใช้ภาษาพูดสอดแทรกเข้ามาบ้างก็เป็นสิ่งที่ทำแล้วให้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Apple เป็นต้น
4. การออกแบบหน้าเว็บเพจให้ใช้งานได้ในทุกอุปกรณ์ (RESPONSIVE WEBSITE)
การสร้างเว็บไซต์ให้สามารถเปิดใช้งานได้ มีหน้าตาที่ดูดี และใช้งานง่ายคล้ายกับเปิดบน Desktop นั้น จะช่วยสร้างแต้มต่อ ให้ความพึงพอใจในการใช้งานให้กับเหล่าผู้ใช้งานได้อย่างแน่นอน จากสถิติผู้ใช้งานเว็บไซต์ในปัจจุบันบอกกับเราว่า ยอดการเข้าถึงเว็บไซต์ด้วยโทรศัพท์มือถือ Ipad Tablet และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ได้สูงเทียบเท่ากับการใช้ Desktop ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเว็บไซต์ของใครยังรองรับการแสดงผลแค่บนเว็บไซต์ ให้รีบปรับปรุงด่วน
5. การแก้ปัญหาหน้าเว็บเพจเสียภายในเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ
หน้าเว็บเพจที่เสีย ไม่ว่าจะด้วย Error 404 not found หรือเลเอาท์บัคจากปัญหาโค้ด การปรับแก้ปัญหาทันทีเมื่อรู้ว่ามีเหตุเกินขึ้นเป็นวิธีการดูแลเว็บเพจ และภาพรวมของเว็บไซต์ที่ดีที่สุด เพราะหน้าเว็บเพจที่เสียเหล่านี้ไม่ส่งผลดีอย่างไรให้กับเว็บไซต์ และผู้ใช้งานแต่อย่างใด ซ้ำร้ายยังสร้างผลเสีย เป็นจุดที่จะทำให้ Traffic ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว
5 DON’TS - 5 แนวทางการออกแบบหน้าเว็บเพจไม่แนะนำ ที่ทำแล้วพัง
1. ไม่ควรใช้ฟอนต์หลากหลายประเภท
ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของ UI โดยตรง โดยเราไม่แนะนำให้คุณใช้ฟอนต์มากกว่า 1 หรือเต็มที่ 2 ตัวภายในเว็บไซต์ เพราะจะทำให้หน้าตาของเว็บไซต์ออกมาดูไม่เป็นระเบียบ และทำให้เว็บไซต์ดูไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมากอีกด้วย
2. ไม่ควรทำการเชื่อมลิงก์แบบขึ้นแท็บใหม่
สำหรับประเด็นนี้เรายังสามารถพบเจอได้ในเว็บไซต์ปัจจุบัน เมื่อผู้ใช้งานคลิกไปยังเมนู หรือ Internal Link บางจุดภายในเว็บนั้น แทนที่จะลิงก์เราไปยังหน้าอื่นภายในเว็บไซต์ กลับเด้งแท็บใหม่ขึ้นมาให้เราใช้งานเสียอย่างนั้น การออกแบบเว็บเพจในลักษณะนี้อาจจะสร้างความงุนงงให้กับผู้ใช้งาน แต่ที่สำคัญมากกว่าหากเว็บไซต์ทั้งสองตัวเป็นคนละเว็บกัน ยังส่งผลเสียในเรื่องของการแย่ง Traffic กันเองอีกด้วย
3. ไม่ควรเด้ง POP-UPS ทันทีหลังเว็บไซต์ถูกเปิด
การใช้ Banner Pop-ups ภายในเว็บไซต์เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมากที่สุด เพราะเป็นจุดที่ก่อให้ผู้ใช้งานเกิดอคติกับเว็บไซต์ได้มากที่สุดเช่นกัน เพราะภาพจำของ Banner Pop-Ups หรือ Ads Pop-Ups นั้นมักจะไปปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ผู้ใหญ่ หรือเว็บไซต์พนันเสียส่วนใหญ่นั่นเอง แต่อย่างนั้น เว็บไซต์ทั่วไปก็สามารถใช้ Pop-Ups ได้ เพียงแต่ควรเลือกเวลาเด้งขึ้นมาให้เหมาะสมก็เพียงพอ
4. ไม่ควรใช้สีที่มากเกินจนไป
คล้ายกันกับกรณีการใช้ฟอนต์ เพราะการใช้สีที่มากจนเกินไปนั้น ก็จะทำให้ภายในหน้าเว็บเพจดูไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมทั้งยังไม่สร้างความสบายตาให้กับเหล่าผู้ใช้งานอีกด้วย เพราะฉะนั้นควรเลือกใช้ภายในเว็บไซต์ให้อยู่ในเฉดใกล้เคียงกัน หรือสีคู่ตรงกันไม่เกิน 1 ถึง 2 สีก็เพียงพอ
5. ไม่ควรใช้ระบบเล่นวิดีโอหรือเพลงแบบอัตโนมัติ
เชื่อว่าใครหลาย ๆ คน น่าจะเคยตกอยู่ในความรำคาญใจเมื่อน้อย เมื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งและมีเพลง หรือเสียงวิดีโอดังขึ้นมาทำให้เราต้องไปสกรอล์เมาส์หาว่าต้นตอมันมาจากที่ไหน หากหาเจอง่ายและปิดได้ง่ายนั้นยังพอให้อภัยกันได้ แต่สำหรับบางหน้าเว็บเพจหาจุดปิดยาก และมีมากกว่าหนึ่งจุด สิ่งเหล่านี้ไม่สร้างความรู้สึกอื่นใดนอกจากความรำคาญใจให้กับผู้ใช้งานอย่างแน่นอน
จบกันไปแล้วกับ 5 DO’S & DON’TS ในการออกแบบหน้าเว็บเพจ แบบไหนทำแล้วดี แบบไหนทำแล้วพัง ที่ 1001 Click นำมาแชร์กันในบทความนี้ โดยทางเราหวังอย่างมากว่าบทความชุดนี้ จะช่วยให้การออกแบบหน้าเว็บเพจภายในเว็บไซต์ของคุณนั้นมีทิศทางการออกแบบที่ดีขึ้น และสร้างความประทับใจให้เหล่าผู้ใช้งานได้มากขึ้นกว่าที่เคย
- สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาได้ที่ 081 116 1001
- Line Id : 1001click
- Email : info@1001click.com