10 เคล็ดลับ ทำเว็บ E-COMMERCE อย่างไร ให้ BOUNCE RATE น้อยที่สุด!
Bounce Rate ไม้เบื่อไม่เมาที่คนทำเว็บ E-Commerce นั้นกังวลใจ และอยากให้การทำรีพอร์ตแต่ละครั้งพบเจอมันน้อยที่สุด แม้ว่าการทำให้ Bounce Rate หายไปเลยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจจะทำไม่ได้ แต่ถ้าเป็นการลดอัตราการเกิด Bounce Rate นั้น ทำได้แน่นอน เพราะฉเะนั้นภายในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงการทำเว็บไซต์ E-Commerce อย่างไรให้คนเข้ามาแล้วไม่กดออกในทันที หากพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
BOUNCE RATE คืออะไร?
มาปูพื้นฐานสำหรับคนที่ยังไม่แม่นกันสักหน่อย ก่อนคือขออธิบายความหมายของ Bounce Rate เพื่อให้ทุกคนเข้าใจร่วมกันดังนี้
Bounce Rate คืออัตราการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์เพียงหนึ่งหน้า และกดออกจากเว็บไซต์ไปในเวลาอันรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้งานไม่ได้กระทำการใด ๆ (Adtion) บนเว็บไซต์ ไม่ได้คลิก ไม่ได้ scroll เมาส์ในระยะเวลาที่มากพอ และไม่ได้เปลี่ยนหน้า ตีง่าย ๆ ได้ว่าเข้ามาและออกเลยในทันทีนั่นเอง
BOUNCE RATE ไม่ดีต่อการทำเว็บ E-COMMERCE อย่างไร
จากคำอธิบายความหมายของ Bounce Rate ด้านบนนั้น ทุกคนก็คงน่าจะเดาได้แล้วว่าการมี Bounce Rate นั้นไม่ดีต่อเว็บไซต์อย่างไร แน่นอนว่าคนทำเว็บ E--Commerce นั้น มักจะมี Goal ในการซื้อขายสินค้า หรืออย่างน้อยที่สุดก็หวังว่าผู้ใช้งานจะเข้าถึงหน้าสินค้าให้ได้มากที่สุดเพื่อกระตุ้นการซื้อขาย แต่หากผู้ใช้งานเหล่านั้นเข้าถึงเพียงแค่หน้าแรกของเว็บไซต์ และกดออกไปในทันที การซื้อขายคงมีโอกาสเกิดได้น้อย และปัญหานี้เองที่ทำให้คนทำเว็บ E-Commerce พยายามค้นหาวิธีออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์ให้มีการเกิด Bounce Rate อย่างน้อยที่สุด ถึงว่าที่ 1001 Click จะมาร่วมแชร์ 10 เคล็ด ทำเว็บ E-Commerce อย่างไร ให้ Bounce Rate น้อยที่สุด ไปดูกัน
10 เคล็ดลับ ลด BOUNCE RATE ให้น้อยที่สุด
1. เอาใจใส่ PAGESPEED
กลายเป็นเรื่องเบสิค และคงอยู่ในทุก Topics อย่างขาดไม่ได้เกี่ยวกับการพัฒนา PageSpeed หรือระยะเวลาในการดาวน์โหลดเว็บไซต์ แต่สำหรับการทำเว็บ e-commerce แล้ว พบว่า SiteSpeed หรือ PageSpeed นั้น ส่งผลอย่างมากต่อการเกิด Bounce Rate เพราะระยะเวลาการดาวน์โหลดหน้าเพจต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ที่นานนั้น เป็นต้นตอของการกดออกจากเว็บไซต์ของเหล่าผู้ใช้งานเป็นอันดับต้น ๆ เพราะฉะนั้นการเน้นเอาใจใส่ และจัดการทรัพยากรให้ PageSpeed อยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้น เป็นเรื่องที่ควรให้ความใส่ใจเป็นอันดับต้น ๆ
หากให้เราแนะนำ การพัฒนา และปรับปรุง PageSpeed นั้นทำได้หลายรูปแบบ แต่วิธีที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้น คือการเลือกทำเว็บ E-Commerce ด้วยระบบ Custom Made Website เพราะระบบดังกล่าวมีความอิสระในการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ที่นำมาประกอบสร้างเว็บไซต์ สามารถบีบอักไฟล์รูป และเนื้อหาต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย หากดูแลโดยทีมงานมืออาชีพ ในขณะที่เว็บไซต์เทมเพลตนั้นอาจจะจัดการได้ยากกว่า เพราะจำเป็นต้องใช้ Extensions หรือ Plug-In จำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เว็บไซต์ แต่ก็ต้องแลกมาความเสี่ยงที่ว่าเว็บไซต์อาจจะหนักขึ้น และช้าลงนั่นเอง
2. ทำเว็บ E-COMMERCE ที่เน้น CONVERSION
Conversion อีกหนึ่งเครื่องมือชี้วัดประสิทธิภาพเว็บไซต์คล้ายกับ Bounce Rate ที่เว็บไซต์ E-Commerce จะต้องให้ความสนใจในทุก ๆ รีพอร์ตสิ้นเดือน โดยค่า Conversion นั้น เป็นอัตราการเกิดการกระทำ (Action) ตามวัตถุประสงค์ที่คุณตั้งไว้ เช่นคุณตั้ง Conversion ไว้ที่หน้าตะกร้าการซื้อขาย หรือหน้าชำระเงิน หากคุณทำเว็บ E-Commerce โดยความต้องการบรรลุ KPI ในส่วนของ Conversion มีส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณจะทำให้กลุ่มผู้ใช้งานเข้าถึงหน้า Conversion เหล่านั้นให้รวดเร็วมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใส้ CTA ประเภท Shop Now, Add to Cart หรือ Promotion เป็นต้น
3. จัดวางเลเอาท์โดยใช้เทคนิค VISUAL HIERARCHY
Visual Hierarchy นั้น คือเบสิคในการจัดวางเลเอาท์ที่คนทำเว็บ E-Commerce หลาย ๆ คนมักจะไม่ให้ความสนใจ ซ้ำร้ายอาจจะไม่รู้จัก โดย Visual Hierechy นั้น จะเน้นการจัดวางตามผลงานวิจัย ว่ามนุษย์มักจะกวาดสายตาจากจุดไหนไปจุดไหน ไม่ว่าจะเป็น F Line, Z Line หรือ 8 Line เป็นต้น เทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์มาก เป็นเทคนิคที่ฟังก์ชันสำหรับการพัฒนา User Experience ที่เน้นการสนับสนุนให้ผู้ใช้งานอยู่กับเว็บไซต์ของคุณในเวลาที่นานขึ้นนั่นเอง
4. พื้นที่รีวิวขนาดใหญ่ และฟีเจอร์สำหรับรีวิว
การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้มีส่วนร่วมในการรีวิว และการใช้พื้นที่หนึ่งเซคชั่นเต็ม ๆ หรือมากกว่าสำหรับทำการโขว์รีวิวสินค้าทั้งหมดของคุณนั้นมีประสิทธิภาพต่อการทำเว็บ E-Commerce อย่างแน่นอน เพราะการอ่านรีวิวสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อนั้น แทบจะเป็น must to do หรือสิ่งที่ต้องทำสำหรับคนทั่วไปในปัจจุบันกันแล้ว เพราะฉะนั้นการนำพื้นที่รีวิวมาเป็นจุดเด่น เพื่อให้ผู้ใช้งานมองเห็นได้ง่าย และมีส่วนร่วมได้นั้น พื้นที่นี้อาจจะเป็นพื้นที่ที่ดีที่สุดที่จะใช้จับกลุ่มผู้ใช้งานให้อยู่กับเว็บไซต์ ของคุณได้ยาวนานขึ้น และมีส่วนร่วมมากขึ้นนั่นเอง
5. FAQS
FAQs (Frequently ask question) คำถามที่พบบ่อย เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งไม้ตายสำหรับการทำเว็บไซต์ E--Commerce ที่ใช้ขจัด Bounce Rate ได้แบบอยู่หมัด เพราะ FAQs นั้นคตือการขมวดคำถามที่พบบ่อย มาสร้างเป็น 1 เซคชั่นเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงคำตอบได้อย่างเร็วที่สุด เป็นการสะกดผู้ใช้งานให้หยุดอ่านข้อมูลสำคัญนี้ภายในเว็บไซต์ของคุณ เพราะฉะนั้นคัดเลือกคำถาม และจัดวางคำตอบให้ดี เพราะการทำ FAQs อาจจะเป็นคำตอบเดียวของคุณ
เอาล่ะ เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย กับเคล็ดลับทั้ง 5 ในการทำเว็บ E-Commerce ให้รีพอร์ตออกมามี Bounce Rate น้อยที่สุด ทั้งนี้ 1001 Click อยากจะแนะนำคนทำเว็บ หรือเจ้าของเว็บ E-Commerce หน้าใหม่หลาย ๆ คนที่เป็นกังวลกับค่าเหล่านี้ว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลมากนัก การมีค่า ฺBounce Rate เกิดขึ้นเป็นธรรมดาในการทำเว็บไซต์ เพราะความต้องการ และสไตล์ของเว็บไซต์ อาจจะไม่ตรงกับผู้ใช้งานหลาย ๆ คน เน้นให้ความสนใจพัฒนาเนื้อหาที่มีประโยชน์ พัฒนาระบบ และฟีเจอร์ให้เป็นเอกลักษณ์ เพียงเท่านี้ นอกจากจะมีโอกาสลด ฺBounce Rate ได้แบบเป็นธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการพัฒนาศํกยภาพเว็บไซต์ไปในตัวอีกด้วย
- สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาได้ที่ 081 116 1001
- Line Id : 1001click
- Email : info@1001click.com